วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การใช้โปรแกรม Font Creator

วิธีการทำ

สแกนลายมือที่เราเขียนลงในคอมฯ


เปิดโปรแกรม Font Creator ขึ้นมา


เปิด File > Open > Installed Font


เลือกฟอนต์ที่เราจะใช้ทำ (ภาษาไทย) กด OK


ดับเบิ้ลคลิกตัวอักษรที่เราต้องการเปลี่ยน


จะมีตัวอักษรขึ้นมา พร้อมเส้นสเกล


เปิดโปรแกรม Paint นำไฟล์สแกนลายมือของเรามาเปิด 
ครอปตัวอักษรที่เราต้องการ คลิกขวา Copy


ลบตัวอักษรของฟอนต์เก่าออก Paste ตัวอักษรที่เรา Copy ลงไป 
แล้วดึงตัวอักษรให้ได้ขนาดตามสเกลที่เราต้องการ


กด x ออก แล้วตัวอักษรของเราจะปรากฎแทนที่ตัวอักษรเดิม


ทดลองพิมพ์ โดยกด Font > Test TTF/OTF.. หรือ กดF5


ทดลองพิมพ์ลงในกระดาน


ทำขั้นตอนเดิมกับทุกตัวอักษร เราก็จะได้ฟอนต์ที่เป็นของเราค่ะ


วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

แปลสรุปจากหนังสือ เรื่อง การออกแบบตัวพิมพ์ (Type Design)

การออกแบบตัวพิมพ์ (Type Design)

ตัวอักษรเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ที่มนุษย์สร้างขึ้นในรูปแบบของสัญลักษณ์ที่ทุกคนเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน เริ่มจากการคิดค้นภาพต่างๆขึ้นมา ภาพหนึ่งภาพหมายถึงคำหนึ่งคำ ภาพเหล่านั้นจึงยังไม่จัดว่าเป็นอักขระ เพราะไม่สามารถนำมาผสมเป็นคำได้ จึงมีผู้ริเริ่มคิดค้นตัวอักษรขึ้นมา คือ โฟนีเซียน หลังจากนั้นก็ได้รับการพัฒนาเรื่อยมาจนถึงช่วงกลางของศริสต์วรรษที่ 20 ได้เกิดรูปแบบใหม่ของการออกแบบ เรียกว่า อินเตอร์ เนชัลแนล ไทโปกราฟิก สไตล์ เป็นรูปแบบที่เน้นความเรียบง่ายของรูปร่างเรขาคณิตและการคำนวณทางคณิตศาสตร์            

ในภาษาอังกฤษจะเรียกตัวพิมพ์ว่า ฟอนต์ (font) ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศษ ฟอนเต (fonte) แปลว่า หลอมละลาย เนื่องจากตัวพิมพ์เมื่อแรกเริ่มเกิดจากการหลอมโลหะขึ้นเป็นแม่พิมพ์ แยกเป็นทีล่ะตัวอักษร เมื่อต้องการพิมพ์ก็จะนำตัวพิมพ์มาเรียงกันทีล่ะตัวอักษรจนได้เป็นคำ เป็นประโยค จนได้ข้อความตามที่ต้องการ จนถึงปี ค.ศ. 1930 - 1940 เกิดเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า การเรียงพิมพ์ด้วยแสง หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ตัวพิมพ์พวกเย็น ซึ่งจะพิมพ์เรียงกันออกมาเป็นคอลัมน์ยาวต่อเนื่องในม้วนกระดาษอัดภาพ พร้อมสำหรับการนำไปตัดปะเพื่อทำอาร์ตเวิร์ก วิธีนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก จนมาเกิดเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า การเรียงพิมพ์เชิงตัวเลข ในช่วงปี ค.ศ. 1960 - 1980 และได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ โดยแบบตัวพิมพ์ทั้งหมดจะอยู่ในรูปแบบข้อมูลคอมพิมเตอร์ ซึ่งสามารถนำมาเรียงเป็นข้อความได้ทันทีในอาร์ตเวิร์ก พร้อมๆกับจัดวางภาพและองค์ประกอบอื่นๆ ทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วเป็นอย่างมาก                                                       


แต่ก่อนนั้นผู้รับผิดชอบออกแบบ ผลิตและจำหน่ายตัวพิมพ์ เรียกว่า โรงหล่อตัวพิมพ์ เนื่องจากในอดีตตัวพิมพ์ต้องหล่อขึ้นจากโลหะ แต่ในปัจจุบันนอกจากการผลิตตัวพิมพ์ที่หล่อจากโลหะแล้ว โรงหล่อตัวพิมพ์ยังผลิตตัวพิมพ์ด้วยระบบอื่นๆอีก นอกจากนี้ยังเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นบริษัทที่ว่าจ้างผู้อื่นให้ทำหน้าที่ออกแบบตัวพิมพ์ ที่เรียกกันว่า นักออกแบบตัวพิมพ์ หรือ ไทพ์ ดีไซเนอร์ (Type designer) นั่นเอง ซึ่งอาจจะทำงานประจำอยู่กับบริษัท หรือเป็นนักออกแบบอิสระที่ออกแบบตัวพิมพ์ แล้วนำออกมาเผยแพร่จำหน่าย


ตัวพิมพ์ภาษาอังกฤษเป็นตัวอักษรที่มีรากมากจากภาษาละติน ได้มีการพัฒนาและคิดค้นแบบใหม่ ขึ้นมาเรื่อยๆ จัดได้เป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ คือ ตัวพิมพ์แบบตัวคัดลายมือ มีลักษณะเหมือนตัวคัคลายมือ ที่ดูเหมือนเขียนด้วยปากกาคอแร้ง หรือเรียกว่าตัวอาลักษณ์ มีลักษณะความหนาบางของเส้นไม่เท่ากันทั่งตัวอักษร , ตัวพิมพ์แบบตัวเขียน มีลักษณะเหมือนตัวลายมือเขียน เป็นตัวพิมพ์ที่มีเส้นต่อเนื่องระหว่างตัวแต่ละตัว ส่วนใหญ่มีความหนาบางของเส้นไม่เท่ากันตลอดตัวอักษร นิยมใช้ในการพิมพ์ข้อความสั้นๆ , ตัวพิมพ์แบบเซอริฟ เป็นตัวพิมพ์ที่มีส่วนเป็นฐานหรือติ่ง เรียกว่า ตัวมีเชิง นิยมใช้ในการพิมพ์ข้อความที่มีขนาดยาว เนื่องจากเป็นตัวพิมพ์ที่อ่านง่าย ,ตัวพิมพ์แบบแซนส์ เซอริฟ เป็นตัวพิมพ์ที่ไม่มีฐาน หรือเรียกว่า ตัวไม่มีเชิง มีลักษณะความหนาของเส้นตัวอักษรที่เท่ากันตลอดทั้งตัวอักษร ใช้ในการพิมพ์พาดหัว ไม่ใช้กับข้อความที่มีขนาดยาวๆ เนื่องจากเป็นตัวพิมพ์ที่อ่านยากกว่าตัวพิมพ์ที่มีฐาน แต่เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นในปัจจุบันทำให้เกิดความคมชัด จึงสามารถนำมาใช้ได้ไม่ต่างกัน , ตัวพิมพ์ตกแต่ง เป็นตัวพิมพ์ที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากตัวอักษรแบบอื่น ใช้ในการตกแต่งโดยเฉพาะ และไม่เหมาะที่จะนำมาพิมพ์ข้อความ นิยมใช้กับข้อความสั้นๆ พาดหัวเรื่อง เพื่อเรียกร้องความสนใจ นอกจากจะมีรูปแบบที่แปลกตาแล้ว บางครั้งยังมีการนำภาพคน สัตว์ เข้ามาประกอบด้วย



ตัวพิมพ์ภาษาไทย ได้แบ่งแบบตัวอักษรให้ครอบคลุมตัวพิมพ์ทั้งหมด อาจจะสามารถใช้เทียบเกณฑ์การแบ่งประเภทของตัวพิมพ์ภาษาอังกฤษได้ โดยแบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ ตัวอาลักษณ์ เป็นตัวพิมพ์ที่มีลักษณะเหมือนตัวคัคลายมือ หรือตัวพิมพ์ที่ดูเหมือนเขียนด้วยปากกาคอแร้ง นิยมใช้ในการพิมพ์ข้อความสั้นๆ และต้องการให้ดูเก่าแก่โบราณ , ตัวพิมพ์แบบเขียน เป็นตัวพิมพ์ที่มีลักษณะเหมือนตัวลายมือเขียน นิยมใช้ในการพิมพ์ข้อความสั้นๆ , ตัวพิมพ์แบบมีหัว เป็นตัวพิมพ์ที่มีหัวเป็นวงกลม  เป็นแบบตัวภาษาไทยที่อ่านง่ายที่สุด นิยมใช้กับการพิมพ์ข้อความขนาดยาวๆ , ตัวพิมพ์แบบไม่มีหัว หมายถึงตัวพิมพ์แแบที่มีหัวเป็นจงอยเหมือนถูกปาดออก , ตัวพิมพ์แบบตัวตกแต่ง เป็นตัวพิมพ์ที่ได้รับการออกแบบให้แปลกออกไปเป็นพิเศษมักจะใช้กับข้อความสั้นๆ สามารถบ่งบอกบุกคลิกภาพของผลงานออกแบบได้ดี

ตัวพิมพ์หรือที่เรียกว่าฟอนต์นั้น มี 4 ลักษณะ คือ ตัวธรรมดา ตัวหนา ตัวเอน และตัวหนาเอน หากได้รับการออกแบบให้มีมากกว่า 4 ลักษณะนี้ จะเรียกว่า ไทพ์เฟซ (typeface) เพราะการที่ตัวอักษร 1 แบบได้รับการออกแบบให้มีหลายลักษณะ ทำให้เกิดเป็นสกุลตัวพิมพ์ ซึ่งหมายถึงตัวพิมพ์จะมีชื่อเดียวกัน แต่จะมีคำพ่วงเพื่อบอกลักษณะที่แตกต่างกันไป

ในตัวอักษร 1 ตัว จะประกอบด้วยส่วนต่างๆหลายส่วน หรือเรียกว่า โครงสร้างตัวพิมพ์ ในโครงสร้างตัวพิมพ์ของตัวพิมพ์ภาษาอังกฤษ จะมีส่วนที่สำคัญ คือ เส้นลำตัว เป็นเส้นหลักทางตั้งหรือทางเฉียงของตัวพิมพ์ เส้นแขน เป็นเส้นสั้นๆที่แยกออกจากลำตัวของตัวพิมพ์ด้านบน เส้นขา เป็นเส้นสั้นๆที่แยกออกจากลำตัวของตัวพิมพ์ด้าล่าง เส้นปลายแหลมบน เป็นส่วนแหลมด้านบนที่เกิดจากการมาเจอกันของเส้นเฉียง 2 เส้นของตัวพิมพ์ เซอริฟ เส้นติ่งที่ปลายเส้นของตัวพิมพ์ เส้นหางบน คือเส้นลำตัวที่ยื่นขึ้นด้านบน แอ่ง หมายถึงที่ว่างในตัวอักษร ไม่ว่าจะเป็นที่ว่างถูกปิดล้อมโดยรอบ หรือถูกปิดบางส่วน คลอสบาร์ เส้นขวางในแนวนอนซึ่งเชื่อมกับเส้นลำตัวสองเส้น ส่วนโครงสร้างตัวพิมพ์ของตัวพิมพ์ภาษาไทย ตามที่ราชบัณฑิตยสถานได้กำหนดนั้น มีความละเอียดมากกว่าโครงสร้างตัวพิมพ์ภาษาอังกฤษ โดยกำหนดให้โครงสร้างทั้งหมดอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมภายในเส้นสมมุติ ได้แก่ เส้นกรอบบน เส้นกรอบล่าง เส้นกรอบหน้า และเส้นกรอบหลัง ในส่วนของความสูงของตัวพิมพ์ จะแบ่งด้วยเส้นจากบนลงล่างคือ เส้นกรอบบน เส้นชานบน เส้นวรรณยุกต์ เส้นเหนือสระบน เส้นใต้สระบน เส้นหลัก เส้นฐาน เส้นสระล่าง เส้นชานล่าง และเส้นกรอบล่าง โดยแบ่งย่อยเป็นช่วงๆ เท่าๆกัน ในส่วนของความกว้างตัวพิมพ์  จะแบ่งด้วยเส้นจากซ้ายไปขวา คือ เส้นกรอบหน้า เส้นชานหน้า เส้นแบ่งครึ่งส่วนกว้าง เส้นชานหลัง เส้นกรอบหลัง โดยแบ่งย่อยเป็นช่วงเท่าๆกัน แต่บางตัวอักษรช่วงย่อยนี้อาจจะไม่เท่ากัน
โครงสร้างตัวพิมพ์ภาษาไทย

ที่มา : http://thaifont.info/?p=227


การวัดตัวพิมพ์ มีหน่วยการวัดเป็น พอยต์ (point)  และอีกหน่วยหนึ่งคือ ไพก้า (pica) 1 ไพก้า เท่ากับ 6 พอยต์ นิยมวัดตัวพิมพ์ด้วยการวัดจากจุดสูงสุดของเส้นหางบน ไปจนถึงจุดต่ำสุดของเส้นหางล่าง บางงานออกแบบจะพบว่าตัวพิมพ์ที่มีขนาดพอยต์เดียวกัน อาจจะดูมีขนาดแตกต่างกัน เป็นเพราะว่าแบบของตัวพิมพ์แต่ละแบบนั้นมีสัดส่วนระหว่างความสูงเอกซ์ ความสูงเส้นหางบน และความสูงหางล่าง ในการเลือกใช้ตัวพิมพ์ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ควรพิจรณาถึงความเหมาะสมด้วย

พื้นที่ว่าง ในการจัดระยะห่างของตัวพิมพ์ มีอยู่ 4 แบบคือ ช่องไฟ เป็นพื้นที่ว่างระหว่างตัวอักษรแต่ละตัว ซึ่งสามารถจัดเรียงให้ใกล้หรือห่างกันด้วยการจัดเรียงช่องไฟ บางครั้งก็เรียกว่า เทรคกิ้ง การจัดช่องไฟนั้นมีส่วนสำคัญในการออกแบบ ซึ่งต่างจาก การล้ำ เป้นการจัดช่องว่างระหว่างตัวพิมพ์ของตัวอักษรให้ล้ำเข้าไปในช่องว่าของอีกตัวอักษรหนึ่ง การล้ำจะช่วยให้ช่องว่างระหว่างตัวพิมพ์ดูสวยงามขึ้น ไม่ดูห่างกันจนเกินไป โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้ตัวพิมพ์ขนาดใหญ่พาดหัว ซึ่งช่องไฟปกติจะทำให้ตัวอักษรดูห่างกันมากเกินไป เมื่อเทียบสัดส่วนกับตัวพิมพ์ การวรรคคำ เป็นพื้อที่ระหว่างคำแต่ล่ะคำ ซึ่งสามารถจัดเรียงให้ใกล้หรือห่างกันด้วยการเว้นวรรค และช่องว่างระหว่างบรรทัด ที่ว่างระหว่างบรรทัดแต่ล่ะบรรทัดสามารถจัดเรียงให้ใกล้หรือห่างกันก็ได้ โดยการแทรกบรรทัด


แหล่งอ้างอิง
หอสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • หนังสือ การออกแบบสิ่งพิมพ์ Publication Design : ผู้เขียน อารยะ ศรีกัลยาณบุตร
  • หนังสือ ดีไซน์ + คัลเจอร์3 (Design + Culture 3) : ผู้เขียน ประชา สุวีรานนท์
  • หนังสือ ออกแบบประดิฐแบบอักษร : ผู้เขียน สมคิด หงษ์สุวรรณ
แหล่งเรียนรู้หนังสืออิเล็กทรอนิก ISSUU.com/E-book

สรุปงานแปลหนังสือ
โดย นางสาว ภาชินี ไชยวุฒิ
รหัสนักศึกษา 5611301713  กลุ่มเรียน 101
รายงายวิชา ARTD การออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์

วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกความรู้ 13 มค. 2558

การบ้าน 

- เขียนรหัส Thai Characters Unicode บนคีย์บอร์ด ใส่ลงในเพจกระดาษ

ตัวอย่าง 3585 0E01 THAI CHARACTER KO KAI
                        ^            ^
                  รหัสตัวเลข   รหัส Unicode (รหัสสากล)

ข้อมูลอยู่ใน http://typefacesdesign.blogspot.com/p/typefaces-sources.html

- หาฟอนต์ฟรี โหลดลงเครื่อง

- ดาวน์โหลดฟอนต์จาก Chandrakasem.info ฟอนต์ cru family
เอาลิงค์ไปโพสไว้ในบล็อก + แคปภาพวิธีการทำลงในบล็อก

- แสกนเพจเขียนตัวอักษร 3 ชุด (300 ขาวดำ) ลงแฟรชไดฟ์

ตัวหนังสือ 1 ชุด มี 4 ตัว 
1. ตัวปกติ
2. ตัวหนา
3. ตัวเอียง
4. ตัวขีดเส้นใต้

ซอฟแวร์ที่จะเรียน
- Font lab studio5 (ให้ศึกษาวิธีติดตั้ง)
- High logic font creator
- Font forge
เสียค่าลิขสิทธิในการซื้อ

หาคำว่า font application เป็นซอฟแวร์ออนไลน์  Fontstruct.com

เว็บโหลดฟรีของอาจารย์ Thaifont.info มีรายละเอียดเว็บโหลดอยู่ด้านขวา

*รายงานใช้ฟอนต์ไม่เกิน 16


วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2558

บักทึกความรู้ 6 มค. 58


เข้า  Typefacesdesign.blogspot.com   (ออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์)

 มคอ : TQF  - บอกมาตรฐานของการศึกษา และ แนวการสอน

Webblog : การศึกษาออนไลน์ ศึกษาล่วงหน้าได้จาก Youtube เรียนรู้ด้วยตนเอง

หลักการ 3 ส.
1. สืบค้น
2. สร้างสรรค์
3. สรุปผล

E-Learning Acts - เข้าไปเรียน เข้าไปสอบ

Tutorials Links - VDO เกี่ยวกับความรู้

Survey : แบบสำรวจ - แบบประเมิน

Activity - ภาพกิจกรรม

*การเรียนทุกครั้งต้องออกไปรายงานข่าวสาร แปลข่าวสารจากเว็บที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบฟอต์น การดีไซน์ ซอฟแวร์ ลองทำจาก googledocs

- สร้าง E-mail จาก Gmail..com ใช้ชื่อจริงนำหน้าชื่อเมล
- สร้าง bolg ชื่อ ARTD2304-pachinee (บักทึกความรู้)
- เข้า bolgspot ลงชื่อเข้าชชั้นเรียน กลุ่ม 101 เปลี่ยนแปลงข้อมูลให้ถูกต้อง
- ลงทะเบียนในระบบอีเลิร์นนิ่ง http://www.thaiteachers.info/claroline

การบ้าน
เขียนภาษาไทย + อังกฤษ 3 ชุด
1. ตัวบรรจง 1 ชุด
2. ตัวที่เป็นลายมือเรา 1 ชุด
3. ให้คนในครอบครัวเขียนให้ 1 ชุด
*ใช้ปากกาหมึกดำ 0.7